ความหมาย/หน้าที่ของนายกฯ
     
ความหมาย/หน้าที่ของนายกฯ ความหมาย/หน้าที่ของนายกฯ
   
 

นายก อบต. คือใคร มีที่มาอย่างไร มีหน้าที่อะไร
และมีใครเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการบ้าง 

          นายก อบต. คือหัวหน้าผู้บริหาร อบต. เป็นควบคุมและรับผิดชอบการบริหารราชการของ อบต. ตามกฎหมายและเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างของ อบต.

การเลือกตั้งและการดำรงตำแหน่งของนายก อบต. 

          อบต. มีนายก อบต. 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น : ดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้

ผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของ นายก อบต. ดังนี้ 

          (1) รองนายก อบต. : นายก อบต. สามารถแต่งตั้งรองนายก อบต. ซึ่งมิใช่สมาชิกสภา อบต. ได้ไม่เกิน 2 คน 

          (2) เลขานุการนายก อบต. : นายก อบต. สามารถแต่งตั้ง เลขานุการนายก อบต. จากผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกสภา อบต. หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ 1 คน

อำนาจหน้าที่ของ นายก อบต. 

          1. ก่อนเข้ารับหน้าที่ นายก ต้องแถลงนโยบายต่อสภา อบต. โดยไม่มีการลงมติ หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งต่อสมาชิกสภา อบต. ทุกคน และจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. เป็นประจำทุกปี 

          2. มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 59 ดังนี้ 

                (1)  กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับทางราชการ 
                (2)  สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของ อบต.
                (3)  แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก อบต. และเลขานุการนายก อบต. วางระเบียบเพื่อให้งานของ อบต. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ อบต. 
                (4)  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น 

          3. ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างและพนักงานจ้างของ อบต. 

          4. นายก อบต. รองนายก อบต. หรือผู้ซึ่งนายก อบต. มอบหมายมีสิทธิเข้าประชุมสภา อบต. และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงตลอดจนแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุมแต่มี่สิทธิออกเสียงลงคะแนน 

          5. กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธาน อบต. หรือ สภา อบต. ถูกยุบเพราะว่าไม่สามารถจัดให้มีการประชุมสภา อบต. ครั้งแรกภายใน 15 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. หรือมีการประชุมแต่ไม่สามารถเลือกประธานสภา อบต.ได้ หากกรณีสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นช้ไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎร นายก อบต. จะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้ แต่เมื่อได้เลือกประสภา อบต. แล้วให้เลือกประธานสภา อบต. เพื่อให้นายก อบต. แถลงนโยบายโดยไม่มีการลงมติภานใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการเลือกตั้งประธานสภา อบต. 

          6. กรณีนายกปฏิบัติการที่อาจเสียหายแก่ อบต. หรือเสียหายแก่ราชการ และนายอำเภอได้ชี้แจ้งแนะนำแล้วไม่ปฏิบัติตาม ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนที่จะรอช้าไม่ได้ นายอำเภอมีอำนาจออกคำสั่งระงับการปฏิบัติราชการของนายก อบต. ไว้ตามที่เห็นสมควรได้ แล้วรีบรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดภายใน 15 วัน เพื่อวินิจฉัยตามที่เห็นสมควรโดยเร็ว: การกระทำของนายก อบต.ที่ฝ่าฝืนคำสั่งนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าว ไม่มีผลผูกพันกับ อบต. 

          7. เป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติ อบต. ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม 

          8. เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ อบต.

 
 
     
     
 
ประกาศเมื่อ 22 กันยายน 2567