การค้ำประกัน
คนเราถ้าขัดสนเงินทองก็ต้องกู้เป็นหนี้เขาแต่เขาอาจจะไม่ยอมให้กู้ถ้าไม่มีอะไรเป็นหลักประกันให้ความมั่นใจว่าเขาจะได้รับชำระหนี้คืนค้ำประกันก็เป็นหลักประกันอันหนึ่ง ค้ำประกันคือการใครคนหนึ่งทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้นั้นแทนเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิรียกร้องหรือฟ้องให้ค้ำประกันรับผิดได้
การที่จะฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้นั้นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญมิใช่ตกลงกันด้วยปากเปล่าซึ่งฟ้องไม่ได้ตามธรรมดาถ้าทำสัญญาค้ำประกันตามแบบซึ่งมีขายอยู่ทั่วไปก็ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเป็นแบบซึ่งทำโดยผู้รู้กฎหมายแต่ถ้าทำกันเองก็อาจเกิดปัญหาได้ ถ้าเราเป็นเจ้าหนี้ก็ต้องระมัดระวังในข้อนี้ในเอกสารนั้นต้องมีข้อความอันเป็นสาระสำคัญว่า ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้แทนมิฉะนั้นอาจฟ้องผู้ค้ำประกันไม่ได้เพราะไม่ใช้เป็นสัญญาค้ำประกันตามกฎหมาย
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน :
เมื่อจำกัดความรับผิดไว้แล้วก็รับผิดเท่าที่จำกัดไว้แต้ถ้าไม่จำกัดความรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาต่อเจ้าหนี้ไม่ชำระเงินหรือค่าเสียหายมากน้อยเพยงใดผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาต่อเจ้าหนี้ไม่ชำระเงินหรือค่าเสียหายมากน้อยเพียงใดผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดจนสิ้นเชิงเช่นเดียวกับลูกหนี้ทุกอย่างเมื่อทำสัญญาค้ำประกันแล้วผู้ค้ำประกันต้องผูกผันตามสัญญานั้นเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องให้รับผิดได้ เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด
สิทธิของผู้ค้ำประกัน :
(1) เมื่อผู้ค้ำประกันถูกเรียกร้องให้ชำระแทนลูกหนี้มิใช้ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้ทันทีแต่มีสิทธิที่จะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ได้ทั้งนี้ภายใต้ข้อยกเว้นบางประการและถ้าเจ้าหนี้ฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับลูกหนี้ก็ยังมีสิทธิพิสูจน์ต่อศาลว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินชำระหนี้ได้และการที่บังคับเอาจากลูกหนี้นั้นศาลก็ต้องบังคับเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนเพราะหนี้ที่ผู้ค้ำประกันต้องชำระมิใช้ป็นหนี้ของผู้ค้ำประกันเองผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ชั้นที่สอง
บางกรณีเจ้าหนี้เอาเปรียบลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน ในสัญญาสำเร็จรูป จะมีความว่า “ให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้” คือลูกหนี้ร่วมเท่ากับให้ผู้ค้ำประกันรับผิดหนักขึ้นดังนั้นก่อนเซ็นสัญญาค้ำประกันจึงต้องพิจารณาว่าจะยอมรับผิดเช่นนั้นหรือไม่ถ้ายอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ก็ไม่มีสิทธิที่จะเกี่ยงดังกล่าวข้างต้น
(2) เมื่อมีผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ไม่ว่าจะชำระแต่โดยดีหรือชำระหนี้โดยถูกบังคับคำพิพากษาผู้ค้ำประกันก็มีสิทธิรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ในอันที่จะเรียกเอาเงินชำระให้เจ้าหนี้ใช้แล้วนั้นคืนจากลูกหนี้ได้ตามจำนวนที่ชำระไปตลอดจนค่าเสียหายต่างๆเนื่องจากการค้ำประกัน
การเป็นผู้ค้ำประกันนั้นมีแต่เสียตามคำพังเพยที่ว่าเนื้อไม่ได้กินหนังไม่ได้รองนั่ง มีแต่เอากระดูกมาแขวนคอเพราะฉะนั้นก่อนที่จะเซ็นชื่อในสัญญาค้ำประกันต้องพิจารณาตัวลูกหนี้ซึ่งผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้แทนให้ดีว่ามีความสามารถชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้แค่ไหนและมีการซื่อสัตย์สุจริตเพียงใดทั้งต้องพิจารณาข้อความในสัญญาให้รอบคอบ บางที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันรับผิดหนักขึ้นหรือสละสิทธิบางอย่างอันอาจทำให้ไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ไม่ได้เมื่อเข้าใจข้อความในสัญญาดีแล้วจึงค่อยลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน
การพ้นความรับผิดของผู้ค้ำประกัน :
เมื่อเซ็นชื่อในสัญญาแล้วผู้ค้ำประกันก็มีภาระต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้ของลูกหนี้จะระงับไปตราบใดที่หนี้ของลูกหนี้ยังมีอยู่ผู้ค้ำประกันก็ไม่พ้นความรับผิดแต่มีพฤติการณ์บางอย่าง ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิด
(1) เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้คือถ้าได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว เจ้าหนี้ยืดเวลาผู้ค้ำประกันจะไม่กำจัดความรับผิดของตนไว้ในสัญญาค้ำประกันด้วยก็ได้ถ้าไม่ต้องการรับผิดอะไรบ้าง หรือต้องการจำกัดขอบเขตความรับผิดไว้เพียงใดก็ต้องระบุในสัญญาให้ชัดเจน เช่น ลูกหนี้กู้เงินเจ้าหนี้ 100,000 บาทอัตราเงินดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีผู้ค้ำประกันจะกำจัดความรับผิดเฉพาะกรณีที่บุคคลนั้นทำความเสียหายเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่ไม่รวมถึงประมาทเลินเล่อด้วยต่อไปอีกผู้ค้ำประกันก็พ้นความรับผิด
(2) เมื่อหนี้ของลูกหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วผู้ค้ำประกันเอาเงินไปชำระให้แก่เจ้าหนี้แต่เจ้าหนี้ไม่ยอมรับโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ผู้ค้ำประกันก็หลุดพ้นจากความรับผิดเช่นเดียวกัน